วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562


            วันนี้ได้เข้าร่วมกับกิจกรรมที่อาจารย์ได้จัดขึ้นมาให้ความรู้แก่นักศึกษาทุกคนโดยมีวิทยากรอาจารย์ที่เคยเป็นอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ให้ความรู้ในเรื่อง สารนิทัศน์ สำหรับเด็กปฐมวัย 
เริ่มแรกก่อนที่จะฟังคำบรรยายและทำความรู้จักของเนื้อหาอาจารย์ท่านได้เริ่มให้พวกเราเต้น T25 เพื่อกระตุ้นให้เราสนุกและตื่นในช่วงเช้าค่ะ ทำให้นักศึกษาสนุกและสร้างความคุ้นเคยเป็นกันเองกับอาจารย์

1.ความหมายของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
              สรุป สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง ข้อมูลที่เป็นหลักฐานอาจเป็นคำพูด การกระทำ ผลงานของเด็ก หรือการสะท้อนตนเองของเด็กและผู้เกี่ยวข้อง สะท้อนความคิดของเด็ก รวมถึงการจัดทำหลักฐานแสดงให้เห็นการเจริญเติบโต พัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

2.ความสำคัญของสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย
สารนิทัศน์มีความสำคัญต่อเด็กปฐมวัยและผู้เกี่ยวข้อกับเด็กปฐมวัยหลายประการ ดังต่อไปนี้
    1.ช่วยให้ค้นพบและเห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด้กปฐมวัยอย่างชัดเจนทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา
    2.ช่วยสร้างเสริมการเรียนรู้ครู ทำให้ครูเข้าใจพัฒนาการเรียนรู้ที่มีความหมายและเป็นรูปธรรมของเด็กปฐมวัย เห็นกระบวนการเรียนรู้ขอตนเอง
    3.ช่วยให้ข้อมูลที่นำไปใช้ในการพิจารณาสร้างเสริมพฤติกรรมและการเรียนรู้สำหรับเด้กปฐมวัยทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
    4.ช่วยเชื่อมโยงหลักการทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยตระหนักถึงสิ่งที่ตนเองปฏิบัติ เข้าใจตนเองและมีทิศทางในอนาคต
    5.ช่วยทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยกำหนดเป้าหมายบทบาทในการพัฒนาและการประเมินตนเองตามบริบทที่เป็นจริง
    6.ช่วยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่เข้มแข็งให้กับครอบครัว สถานศึกษา และชุมชนได้เห็นวิถีทางที่เด็กปฐมวัยเรียนรู้
    7.ช่วยพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาได้อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง สนองความต้องการในการประกันคุณภาพและการปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครู
      สรุป สารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยสำคัญหลายประการ เช่น ช่วยให้เห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยอย่างชัดเจนทุกด้าน ทำให้ครูเข้าใจพัฒนาการและการเรียนรู้ความหมายและรูปธรรมของเด็ก

3.ครูจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัยอย่างไร ?

-เตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการเก็บ วางแผน การเลือกและการจัดการกับวัสดุสื่อที่เหมาะสม
-ศึกษาหลักสูตรเป้าหมายการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะช่วยให้ทราบว่าควรเก็บข้อมูลประเภทใด ลักษณะใดจึงจะทำให้เห็นพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
-วางแผนการจัดทำ เลือกวิธีเก็บข้อมูล เช่น บันทึกสั้น ภาพถ่าย แบบสังเกต ภาพจากสไลค์แถบเสียง แถบบันทึก ภาพ
-ตั้งเป้าหมายการจัดทำ เช่น การบันทึกพฤติกรรมเด็ก โดยใช้วิธีสังเกตและการใช้บันทึกเสียงสั้น
-จัดแสดงข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก 

4.บทบาทครูในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย

      ครูมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัยโดยครูจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมความคิดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ บทบาทของครูพอจะกล่าวได้ดังนี้
-สร้างความเป็นกันเอง ความอบอุ่นเพื่อให้เด็กมีความมั่นใจที่จะพูด กล้าคิด กล้าทำ
-เป็นผู้ฟังที่ดี และตั้งใจฟังคำถามของนักเรียน
-เป็นผู้สนับสนุนให้ผู้เรียนค้นคว้าและแสวงหาคำตอบด้วยตนเอง
-ให้โอกาสผู้เรียนคิดโดยใช้วิธีการอย่างหลากหลาย
-ลดบทบาทในการเป็นผู้สอน ผู้บรรยาย ผู้บอก แต่ควรใช้วิธีการแนะหรือส่งเสริมให้ผู้เรียนพบคำตอบด้วยตนเอง
- ยั่วยุให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย เกิดปัญหาและอยากหาคำตอบ โดยตั้งคำถามอย่างหลากหลายให้คิด
-ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการจัดประสบการณ์ให้เด็กมีทักษะในการคิด
    ดังนั้นการที่จะให้เด็กได้มีการพัฒนาความคิดนั้นครูจำเป็นต้องจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมและต้องมีความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมและพัฒนาความคิดให้กับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง : ตั้งใจร่วมกิจกรรมค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจร่วมกิจกรรมค่ะ
ประเมินอาจารย์ :อาจารย์หากิจกรรมมาให้ร่วมดีมากค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

รูปกิจกรรมพิเศษ ที่นักศึกษาร่วมกันขนย้ายสิ่งของในห้องเรียนค่ะ รูปกิจกรรมจิตอาสาในการขนย้ายสิ่งของห้องเรียนเก่าไปสู่ห้องเรียนใ...