วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562

บันทึกหลังการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2562


1.การจัดการเรียนรู้แบบทักษะ EF ( Executive Function ) 
     EF คืออะไร ?     
EF ( Executive Function ) เกี่ยวข้องกับพัฒนาเด็กปฐมวัยอย่างไร เราจะ มีวิธีส่งเสริมพัฒนาการด้านนี้ได้อย่างไร เรามาเรียนรู้พร้อมกันนะคะ EF = ( Executive Function ) คือ การทำงานของสมองด้านการจัดการ ซึ่งมีอิธิพลต่อความสำเร็จในชีวิต "ฟังดูน่าสนใั้จมาก"โดยอาศัยกระบวนทางปัญญา(cognitive process) ต่างๆ เช่น การยับยั้งความคิด การแก้ปัญหา การวางเป้าหมาย การวางแผนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ( goal - directed behavior) สรุปคือ เป็นความสามารถในการควบคุมความคิของตนเองนั่นเอง เช่น มีรูปแบบความคิดที่หลากหลาย การคิดนอกกรอบ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนความคิดและความสนใจตามสถานการณ์ และการปฏิบัติตามคำสั่งที่ซับซ้อน

EF ( Executive Function ) ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน 
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ 
2.ทักษะกรยังยั้งชั่งใจ คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือ ความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยังยั่งชั่งใจจะเหมือนรถที่ขาดเบรกอาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการคิดยืดหยุ่น (Shift Cognitive Flexibility ) คือ ความสามารถในการยดหยุ่นหรือปรับเลี่ยนไม่เหมาะสมกับสถานการณ์เกิดขึ้นด้
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือ ความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่หมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตนเอง ไม่ได้เป็นคนโกรธ ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้า
6.การประเมินตัวเอง (Self Monitoring) คือ การสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามความคิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือ ทักษะการทำงานตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม 
9การมุ่งเป้าหมาย(Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้วก็มีความมุ่งมั่น 

การสอนแบบมอนเตสซอรี่

เริ่มจากการสังเกต ศึกษาพัฒนาการของเด็กของแต่ละคน การสอนแบบมอนเตสซอรี่จะไม่เน้นการเรียนรู้แบบท่องจำ แต่จะเน้นการเล่นหรือการทำกิจกรรมเป็นหลัก โดยการให้เด็กได้เลือกทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่ตัวเองสนใจ มอนเตสซอรี่ได้จัดทำอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายตามความสนใจและตามวุฒิภาวะของเด็กที่แตกต่างกัน ซึ่งจะช่วยพัฒนาทางด้านประสบการณ์ชีวิต งานวิชาการ และทางประสาทสัมผัส เช่น การแต่งกาย การทำความสะอาด การขัดและอุปกรณ์ในการทำงานบ้าน สำหรับอุปกรณ์จะมีการออกแบบให้เด็กได้พัฒนาสติปัญญา และพัฒนาการคิดอย่างมีระบบมีเหตุผล เช่น อุปกรณ์ทางคณิตศาสตร์ อุปกรณ์ทางภาษาและหลักภาษา การมองเห็น การชิมรส การได้ยิน การดมกลิ่น เป็นความรู้สึกที่ใช้ประสาทสัมผัสร่วมกัน

แนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะเริ่มจากการเรียนรู้แบบรูปธรรมไปสู่แบบนามธรรม และอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่สามารถนำมาใช้ได้หลายรูปแบบ อุปกรณ์เป็นสิ่งที่ช่วยควบคุมตัวเด็กในการทำงาน เด็กจะพอใจเมื่อทำงานต่าง ๆ ได้ถูกต้อง และในการจัดเก็บอุปกรณ์จะต้องมีที่เฉพาะสำหรับวางอุปกรณ์ เพื่อที่เด็กจะได้จัดเก็บอุปกรณ์เข้าที่ให้เรียบร้อย เมื่อเล่นเสร็จแล้วซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กรู้จักการเรียนรู้การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน


หลักการสอนของมอนเตสซอรี่

เด็กได้รับการยอมรับนับถือ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน เด็กจึงควรได้รับการยอมรับในลักษณะเฉพาะของตัวเอง คุณครูควรจัดกิจกรรมพัฒนาให้เด็กแต่ละคนตามความสามารถ และพัฒนาการความต้องการตามธรรมชาติของเด็กในแต่ละช่วงวัย
จิตซึมซับ เด็กมีจิตแห่งการหาความรู้ที่เปรียบเสมือนฟองน้ำ โดยเด็กจะซึมซับเอาข้อมูลต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจิตของตัวเอง
ช่วงเวลาหลักของชีวิต เด็กแรกเกิดจนถึง 6 ปี เป็นช่วงเวลาสำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของการพัฒนาด้านสติปัญญาและจิตใจ ในช่วงเวลานี้ เด็กควรมีอิสระในการเลือกกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ
การเตรียมสิ่งแวดล้อม เด็กจะได้รับการพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด จากการจัดสภาพแวดล้อมที่มีความพร้อมอย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายไปตามขั้นตอน โดยมีสื่ออุปกรณ์มอนเตสซอรี่เป็นตัวกำหนดขอบเขตในการทำงาน
การศึกษาด้วยตัวเอง เด็กได้รู้จักเรียนรู้ระเบียบวินัยของการอยู่ร่วมกันภายในสังคม และมีอิสระในการทำงาน รู้จักเรียนรู้การแก้ปัญหาด้วยตัวเอง เรียนรู้ที่จะรับผิดชอบ และมีความภาคภูมิใจต่อความสำเร็จในการทำงาน จนทำให้เด็กเกิดความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตัวเอง
การวัดประเมินผล คุณครูในชั้นเรียนจะเป็นผู้ประเมินผล โดยใช้วิธีการสังเกตและวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง ซึ่งครูผู้มีประสบการณ์และผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการศึกษาแบบมอนเตสซอรี่ จะมีความเชี่ยวชาญในการสังเกต จดบันทึก และวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่นั้น จะเน้นการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน โดยมีคุณครูเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา และกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตัวเอง โดยใช้จิตซึมซับกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงความสนใจความต้องการของเด็กในการเรียนรู้ ยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล และส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ โดยจะจัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะด้านกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ที่ช่วยให้เด็กรู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง สิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์เป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการสอนแบบมอนเตสซอรี่ที่ช่วยให้เด็กเรียนรู้ด้วยตัวเอง จากการที่เด็กได้สัมผัสกับงานที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน และการเรียนแบบมอนเตสซอรี่นั้นต้องจัดพื้นที่ว่างสำหรับเด็กโดยเฉพาะ เพื่อที่เด็กจะได้นั่งทำงานทั้งบนเก้าอี้และบนพื้น เพราะเด็กจะได้มีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการจัดเก็บหรือวางอุปกรณ์ให้เป็นระเบียบอุปกรณ์ของมอนเตสซอรี่แต่ละชิ้นจะเน้นอยู่ที่การรับรู้โครงสร้างของอุปกรณ์ที่จัดไว้ โดยผ่านประสาทสัมผัสของการเคลื่อนไหว และในการจะใช้อุปกรณ์แต่ละชนิด คุณครูจะต้องเป็นผู้สาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูก่อน ซึ่งจะทำให้เด็กเกิดความสนใจและอยากทำกิจกรรมกับอุปกรณ์นั้น ๆ อุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีลำดับความยาก-ง่ายต่อเนื่องกันไป 
ประเมินตนเอง : ตั้งใจเรียนค่ะ
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งใจเรียน มีคุยกันบ้างค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์อธิบายเข้าใจดีค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

รูปกิจกรรมพิเศษ ที่นักศึกษาร่วมกันขนย้ายสิ่งของในห้องเรียนค่ะ รูปกิจกรรมจิตอาสาในการขนย้ายสิ่งของห้องเรียนเก่าไปสู่ห้องเรียนใ...